วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

      สวัสดีครับ วันนี้เรามาพบกันอีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์กันนะครับ วันนี้เราจะมาพูดกันถึงในเรื่องของส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ว่ามีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยครับ


ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน
3. ลำกล้อง (Body Tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแป้นหมุนอีกที 
4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse Adjustment Knob) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
5. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine Adjustment Knob) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น หลังทำการปรับระยะโฟกัส
6. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective Lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นหมุน มีประมาณ 3-4 อัน 
แต่ละอันมีกำลังขยายบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x 
ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
8. แป้นหมุน (Revolving Nosepiece) เป็นจุดหมุนสำหรับหมุนเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม
9. แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ทำหน้าที่กำเนิดแสงให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปจะใช้หลอดไฟ หรือกระจกเงาเพื่อสะท้อนแสงจากธรรมชาติ
10. ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical Stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น

  
     เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรื่องที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ครั้งหน้าเราจะนำเรื่องอะไรมาฝากกันอย่าลืมติดตามชมกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น