วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แคปซูลเอ็นโดสโคป คืออะไร

 

 แคปซูลเอ็นโดสโคป คืออะไร?

แคปซูล หรือ "แคปซูลเอ็นโดสโคป" คือ

เป็นวัสดุขนาดเล็กและเบา ซึ่งมีลักษณะปลายมนโค้งเป็นพลาสติกใส มีเลนส์ และตัวให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ พร้อมด้วยตัวบันทึกภาพ โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลืนแคปซูลพร้อมน้ำ เหมือนการทานยาปกติ โดยไม่ต้องเคี้ยว 


 



หลังจากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารโดยเริ่มจากปากไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejunum)ลำไส้เล็กตอนปลาย (IIeum) ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ (IIeo –cecal Valve) กระพุ้งแรกของลำไส้ใหญ่ (Cecum) และลำไส้ใหญ่ (Colon) 


 


ซึ่งจะบันทึกภาพระบบภายในและส่งสัญญาณต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ใน เครื่องบันทึกภาพ ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างสะดวกแม่นยำ โดยในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงระหว่างกลืนแคปซูลลงไปในท้องนั้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถที่จะเคลื่อนไหว หรือทำงานได้ตามปกติ และไม่มีความเจ็บปวด ก่อนที่แคปซูลจะถูกถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (Rapid Workstation) เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เรื่องใกล้ตัวของผู้ชาย ที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้

 สวัสดีครับ
เรามาพบกับเรื่องใกล้ตัวของผู้ชายทุกๆคนที่หลายๆคนอาจจะไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร
วันนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของ อสุจิ นั่นเอง เราไปดูกันเล้ยยยยย

คุณผู้ชายอาจจะยังไม่เคยทราบถึงรูปร่างหน้าตาของน้องอสุจิของตัวเองว่ามีลักษณะที่สมบูรณ์หรือผิดปกติอย่างไร และแตกต่างจากที่ตัวเองเคยคิด เคยเห็นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของการมีบุตรยากหรือแท้งเมื่อภรรยาตั้งครรภ์ เรามาทำความรู้จักกับน้องอสุจิตัวกระจิ๊ดริดที่สร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดเด็กน้อยที่น่ารักบนโลกนี้มากมายกันเลย
          1. คำถามแรกเลยคือ เราสามารถมองเห็นตัวอสุจิด้วยตาเปล่าได้หรือไม่

เราไม่สามารถมองเห็นตัวอสุจิได้ด้วยตาเปล่า แต่เราสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยส่องดูตัวอสุจิได้ โดยหยดน้ำอสุจิลงบนสไลด์ เราก็จะเห็นหน้าตาอสุจิจำนวนมากมายกำลังวิ่งไปมากันดังรูป (รูปที่1.)


          2. วิธีในการย้อมสีเพื่อดูอสุจิ
ตามรูปที่1. เราจะเห็นตัวอสุจิได้ไม่ชัดเจน แต่ถ้าเราเอาน้ำอสุจิมาย้อมสีเราก็จะเห็นส่วนต่างๆของอสุจิได้ชัดเจนขึ้น สีที่นิยมใช้ย้อมดูอสุจิคือ Dip Quick’s stain และ Papanicolaou’s stain (รูปที่2.) แต่ส่วนใหญ่ในห้องปฏิบัติการจะนิยมใช้ Dip Quick’s stain ย้อมดูอสุจิมากกว่าเพราะทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่า
ส่วนประกอบแต่ละส่วนของอสุจิ
          จากการย้อมสีอสุจิจะทำให้เราเห็นส่วนประกอบต่างๆของอสุจิได้ชัดเจนขึ้น โดยส่วนหัวของอสุจิ เราจะเห็นนิวเคลียส ที่ภายในบรรจุสารพันธุกรรมของมนุษย์ไว้ และมี acrosome ที่ทำหน้าที่ช่วยในการปฏิสนธิของอสุจิกับไข่ เนื่องจากภายในมีเอนไซม์ที่ย่อยผนังของไข่ระหว่างปฏิสนธิค่ะ ต่อจากส่วนหัวคือส่วนคอ หรือ Mid-piece เป็นแหล่งพลังงานของอสุจิ ช่วยให้อสุจิเคลื่อนที่ได้ และสุดท้ายส่วนหางทำหน้าที่ให้อสุจิเคลื่อนที่ (รูปที่3.)
ปริมาณและลักษณะของตัวอสุจิ
          โดยปกติผู้ชายที่มีสุขภาพดีจะหลั่งอสุจิได้อย่างน้อย 15 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร โดยพบอสุจิที่มีรูปร่างปกติและไม่ปกติปะปนกัน ปกติจะพบอสุจิรูปร่างปกติ ตามเกณฑ์WHO อย่างน้อย 4% หรือพบอสุจิปกติตามเกณฑ์ Kruger’s Strict อย่างน้อย 14%
ตัวอสุจิปกติ จะมีส่วนหัวรูปไข่ ขอบเรียบ กว้างประมาณ 2ไมครอน ยาว 4ไมครอน ส่วน acrosome ไม่มีvacuoles ส่วนคอและหางยาวรวมกันประมาณ 45ไมครอน หางจะเรียวยาวไม่ม้วนงอ สำหรับตัวอสุจิที่ผิดปกติ ก็สามารถพบได้หลายรูปแบบ ส่วนใหญ่มักผิดปกติที่ส่วนหัว เช่น หัวอสุจิมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หัวลีบแบน หัวเป็นรูปหยดน้ำ หัวกลม รูปร่างไม่แน่นอน หรืออาจผิดปกติที่ส่วนคอของอสุจิ เช่น คอหัก มีCytoplasmic Droplet และผิดปกติที่ส่วนหาง เช่น หางม้วนเป็นวงกลม หางแยกออกเป็น 2 เส้น หรือไม่มีส่วนหาง เป็นต้น  (รูปที่4.)
 
          จากงานวิจัยพบว่า อสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติจะทำให้มีความสามารถในการปฏิสนธิลดลง อัตราการตั้งครรภ์ลดลง และมีความเสี่ยงต่อการแท้งเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากคุณผู้ชายดูแลสุขภาพร่างกาย โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกาย รวมถึงงดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ก็จะช่วยให้อสุจิมีคุณภาพที่ดีขึ้น โอกาสการมีบุตรของครอบครัวคุณก็จะมีเพิ่มมากขึ้นครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรื่องราวที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ 
ครั้งหน้าเราจะนำเรื่องอะไรมานำเสนอ อย่าลืมติดตามกันนะครับ
ติดตามกล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูง ราคาคุณภาพจากร้านเราได้ที่ www.sjgadget.com

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง จาก
WHO laboratory manual for the Examination and processing of human semen,5th edition

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กล้องจุลทรรศน์ มีอะไรบ้าง

สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง วันนี้เรามาพบกับ กล้องจุลทรรศน์ ว่าเป็นอย่างไร มีกี่ชนิด อะไรบ้าง เรารวมมาไว้ในนี้แล้ว จะมีแบบไหนกันบ้าง เราไปชมกันเลยครับ 

กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตประสาทสัมผัสตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือดแดง
ประเภทของกล้องจุลทรรศน์
  1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope) แสงที่ใช้ส่องดูวัตถุเป็นแสงจากหลอดไฟหรือแสงแดด โดยใช้กระจกเงาสะท้อนแสงเข้าสู่กล้อง เกิดการขยายภาพจากเลนส์กระจก เกิดภาพซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
  2. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron Microscope) ใช้ลำอิเล็กตรอน ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแทนแสงสว่างที่มองเห็น และใช้เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้ว ใช้ลำอิเล็กตรอนจากปืนยิงผ่านเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เกิดภาพบนจอรับภาพ มีกำลังขยายสูงกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง แบ่งเป็น
2.1 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope) สามารถมองเห็นองค์ประกอบภายในของเซลล์ได้ชัดเจน มีกำลังขยายสูงมาก
2.2 กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron Microscope) ใช้ศึกษารูปร่างโครงสร้างและพิ้นผิวของเซลล์ภายนอก ไม่เห็นองค์ประกอบด้านใน

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope)

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope)
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron Microscope)


ตารางที่ 1  เปรียบเทียบกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
สิ่งเปรียบเทียบ
กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ตัวกลางที่ใช้ส่องผ่านวัตถุ
ลำแสงธรรมดา
ลำอิเล็กตรอน
เลนส์ในตัวกล้อง
เลนส์แก้ว
เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า
ตัวกล้อง
มีอากาศ
สุญญากาศ
เลนส์รวมแสง
เลนส์แก้ว
เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า
ระบบถ่ายเทความร้อน
ไม่ต้องใช้
ใช้น้ำ
ภาพที่ได้
ภาพเสมือน หัวกลับ
ภาพจริงปรากฏบนจอรับภาพ
เซลล์ที่ใช้ศึกษา
มีชีวิตหรือตายแล้ว
ตายแล้ว
กำลังขยายสูงสุด
1,000 เท่า
500,000 เท่า
ขนาดวัตถุเล็กสุด
0.2 ไมโครเมตร
0.0005 ไมโครเมตร


เปรียบเทียบภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
  1. วางกล้องให้ฐานอยู่บนพื้นรองรับที่เรียบสม่ำเสมอเพื่อให้ลำกล้องตั้งตรง
  2. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) อันที่มีกำลังขยายต่ำที่สุดมาอยู่ตรงกับลำกล้อง
  3. ปรับกระจกเงาใต้แท่นวางวัตถุให้แสงสะท้อนเข้าลำกล้องเต็มที่
  4. นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ (Stage) ให้วัตถุอยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน แล้วค่อยๆ หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment knob) ให้ลำกล้องเลื่อนลงมาอยู่ใกล้วัตถุที่จะศึกษามากที่สุด โดยระวังอย่าให้เลนส์ใกล้วัตถุสัมผัสกับกระจกปิดสไลด์
  5. มองผ่านเลนส์ใกล้ตา (Eyepiece) ลงตามลำกล้อง พร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบขึ้นช้าๆ จนมองเห็นวัตถุที่จะศึกษา แล้วจึงเปลี่ยนมาหมุนปรับปุ่มภาพละเอียด (Fine adjustment knob) เพื่อปรับภาพให้ชัด อาจเลื่อนสไลด์ไปมาช้าๆ เพื่อให้สิ่งที่ต้องการศึกษาอยู่กลางแนวลำกล้องขณะปรับภาพ
  6. ถ้าต้องการขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุอันที่มีกำลังขยายสูงขึ้นเข้ามาในแนวลำกล้อง และไม่ควรขยับสไลด์อีก  แล้วหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
  7. การปรับแสงที่เข้าในลำกล้องให้มากหรือน้อย ให้หมุนแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) ปรับแสงตามต้องการ

ข้อควรรู้
การเลื่อนสไลด์เพื่อหาภาพ มีหลักการดังนี้
          เมื่อเลื่อนสไลด์ไปทางซ้าย ภาพที่มองเห็นจะเลื่อนไปทางขวา
          เมื่อเลื่อนสไลด์ไปทางขวา ภาพที่มองเห็นจะเลื่อนไปทางซ้าย
          เมื่อเลื่อนสไลด์ลง ภาพจะเลื่อนขึ้น เมื่อเลื่อนสไลด์ขึ้น ภาพจะเลื่อนลง
เมื่อใช้ Objective กำลังขยายต่ำ สนามภาพกว้าง ศูนย์กลางภาพกว้าง รายละเอียดน้อย ภาพสว่าง ระยะระหว่างเลนส์กับแท่นห่างกัน

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับเรื่องกล้องจุลทรรศน์ในวันนี้ หวังว่าเพื่อนๆคงได้ประโยชน์กันนะครับ ครั้งหน้าจะมีเรื่องอะไรมาเสนอ อย่าลืมติดตามชมกันนะครับ
 "อย่าลืมกดไลค์กดแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ"

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

      สวัสดีครับ วันนี้เรามาพบกันอีกครั้งกับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์กันนะครับ วันนี้เราจะมาพูดกันถึงในเรื่องของส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ว่ามีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยครับ


ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
1. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ
2. แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน
3. ลำกล้อง (Body Tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแป้นหมุนอีกที 
4. ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse Adjustment Knob) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
5. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine Adjustment Knob) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น หลังทำการปรับระยะโฟกัส
6. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective Lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นหมุน มีประมาณ 3-4 อัน 
แต่ละอันมีกำลังขยายบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
7. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่วไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x 
ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
8. แป้นหมุน (Revolving Nosepiece) เป็นจุดหมุนสำหรับหมุนเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลม
9. แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ทำหน้าที่กำเนิดแสงให้ส่องผ่านวัตถุ โดยทั่วไปจะใช้หลอดไฟ หรือกระจกเงาเพื่อสะท้อนแสงจากธรรมชาติ
10. ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
11. แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
12. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical Stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น

  
     เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรื่องที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ครั้งหน้าเราจะนำเรื่องอะไรมาฝากกันอย่าลืมติดตามชมกันนะครับ